วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ขายของบน Facebook Marketplace แล้ลูกค้า ทักมา บอกสนใจให้ไปคุยในไลน์ ผมก็ ไม่ไปคุยในไลน์

 บางทีผมก็คิดว่าผม อาจ ระแวงเกินเหตุ  ในการขายของ บน Facebook Marketplace
คือเรื่องมีอยู่ว่า ผมขายของใน  Facebook Marketplace


 

แล้วก็ขายปกติมาหลายปี ไม่ได้ขายจริงจังนะ เอาของไม่ใช้มาขาย ปีๆหนึ่งชิ้นสองชิ้น 

เอาละ แล้วก็มี คนซิบมา  "สนใจสินค้าค่ะ รบกวนติดต่อกลับที่ไลน์ ID xxxxx หน่อยค่ะ ถูกใจพร้อมโอน ขอบคุณค่ะ"

ผมก็คิดว่ามันประหลาด เพราะ ปกติ คนจะถาม ว่ายังมีของไหม? หมดยัง ลดได้ไหม? นัดรับสะดวกที่ไหน

ลดเท่านั้นเท่านี้ได้ไหม ประมาณนั้น  และลูกค้าส่วนใหญ่จะกลัวผมโกง ต่อราคาแล้วยังต้องลำบากนัดรับอีก
ผมละปวดหัว ผมส่งเอกชน สดวกกว่านะ ทั้งซื้อและขายนะ

สรุปความเป็นไปได้นะ
1. ผมคิดมากไปเอง เขาเป็นลูกค้าอยากได้ของจริงๆ แล้วผมพลาดโอกาสขายของ

2. ถ้าสิ่งที่ผมคิดมากบังเอิญเป็นจริงละ

ก็หมายความว่า เขาไม่อยาก ให้ประวัติแชท อยู่บนเฟสบุ๊ก แล้วทำไมละ? 

มีความเป็นไปได้เรื่องลิงก์ไม่ปลอดภัย หรือลิงก์ดูดทรัพย์หรือจะโดนเฟสแบน? ก็ไม่รู้สิ?

ก็ต้องระวังตัวไว้ก่อน พ่อค้าใสซื่อบื่อ ถ้าคิดว่าคนขายจะไม่มีทางโดนโกงผิดถนัด

 

การขายสินค้าบน Facebook Marketplace อาจมีความเสี่ยงจากกลโกงของลูกค้าหลากหลายรูปแบบที่ผู้ขายต้องระวัง ดังนี้:

1. การปลอมแปลงสลิปโอนเงิน

  • กลโกง: ลูกค้าส่งสลิปโอนเงินปลอมให้ผู้ขายเพื่อยืนยันการโอนเงิน แต่จริงๆ แล้วเงินไม่ได้ถูกโอนเข้าบัญชี
  • การป้องกัน: ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีธนาคารของคุณให้แน่ใจว่ามีการโอนเงินเข้ามาจริงๆ ก่อนส่งสินค้า

2. การขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งหลังจากการโอนเงิน

  • กลโกง: ลูกค้าอาจขอเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งในนาทีสุดท้ายและใช้ที่อยู่นี้เพื่อหลอกลวงหรืออาจเป็นที่อยู่ปลอม
  • การป้องกัน: ยืนยันที่อยู่จัดส่งกับลูกค้าก่อนทำการโอนเงินและไม่ควรเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งหลังจากการยืนยัน

3. การขอคืนสินค้าหลังจากได้รับสินค้า

  • กลโกง: ลูกค้าอ้างว่าสินค้ามีปัญหาหรือไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ และขอคืนสินค้า แต่คืนสินค้าที่ไม่ใช่ของเดิมหรือสินค้าในสภาพเสียหาย
  • การป้องกัน: เก็บหลักฐานการส่งสินค้า เช่น รูปถ่ายสินค้าและเลขพัสดุ และมีนโยบายการคืนสินค้าที่ชัดเจน

4. การชำระเงินผ่านวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

  • กลโกง: ลูกค้าอาจขอใช้วิธีการชำระเงินที่ไม่ปลอดภัย เช่น เช็คที่ไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ หรือการโอนเงินผ่านแอพที่ไม่มีการยืนยัน
  • การป้องกัน: ใช้วิธีการชำระเงินที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ เช่น โอนผ่านบัญชีธนาคารที่สามารถตรวจสอบได้หรือระบบชำระเงินออนไลน์ที่มีการยืนยัน

5. การหลอกลวงเพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือบัญชีธนาคาร

  • กลโกง: ลูกค้าอาจขอข้อมูลส่วนตัวหรือบัญชีธนาคารของผู้ขายเพื่อทำการโจรกรรม
  • การป้องกัน: อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลบัญชีธนาคารแก่ลูกค้า หากจำเป็นต้องให้ข้อมูล ให้ตรวจสอบความปลอดภัยและใช้ช่องทางที่ปลอดภัย

6. การสั่งซื้อปลอม (Phishing)

  • กลโกง: ลูกค้าอาจส่งลิงก์ปลอมเพื่อให้ผู้ขายคลิกลิงก์และกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือบัญชีธนาคาร
  • การป้องกัน: อย่าคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จักและไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหรือบัญชีธนาคารผ่านลิงก์ที่ไม่ปลอดภัย

--- หรือข่าวนี้---

 

กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ PCT5 เตือนภัยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้รู้เท่าทันกลโกง "เอบีซี"   (ABC)  เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นผู้เสียหาย ดังนี้:

  1. ผู้ก่อเหตุมักจะเปิดร้านค้าออนไลน์ เช่น ร้านขายของแบรนด์เนมแบบพรีออเดอร์ หรือร้านขายสินค้าไอที แต่จริง ๆ แล้วไม่มีสินค้า
  2. เมื่อมีลูกค้าติดต่อมาขอซื้อ ผู้ก่อเหตุจะส่งเลขบัญชีให้ แต่เป็นเลขบัญชีของร้านค้าอื่นที่ผู้ก่อเหตุไปติดต่อไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าที่สินค้าถอนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น ร้านขายเครื่องสำอาง
  3. เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปยังบัญชีร้านค้านั้นแล้ว ผู้ก่อเหตุจะขอสลิปโอนเงิน แล้วจะส่งสลิปนั้นไปให้ร้านค้าที่ส่งเลขบัญชีให้ โดยแจ้งว่า “พี่สาวหรือพี่ชายของผู้ก่อเหตุโอนเงินไปให้แล้ว”
  4. เมื่อแผนสำคัญเรียบร้อย มิจฉาชีพจะทำการบล็อกทุกช่องทางการติดต่อ
  5. เมื่อผู้เสียหายจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ของ จึงไปแจ้งความเจ้ากับบัญชีที่รับโอนเงินไป ทั้ง ๆ ที่ร้านค้าเจ้าของบัญชีไม่รู้เรื่องอะไรเลย

การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับร้านค้า คือ ควรซื้อ-ขายผ่านแพลตฟอร์มกลาง หรือเว็บไซต์ร้านค้าที่น่าเชื่อถือ สำหรับลูกค้าควรเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนซื้อ และควรอ่านรีวิวให้เยอะก่อนซื้อ รวมทั้งเช็กข้อมูลจากเว็บไซต์ตรวจสอบการฉ้อโกงออนไลน์ หากบัตรประชาชน, บัญชีธนาคาร, ชื่อเพจ, หรือชื่อไลน์ไม่ตรงกัน อย่าโอนเงิน

อย่างไรก็ตาม หลังจากซื้อสินค้าแล้ว พบว่าสัญญาการซื้อ-ขายไม่เป็นธรรม สามารถร้องทุกข์ได้กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ย ตลอดจนดำเนินคดีกับผู้ขายได้ เพื่อรักษาสิทธิของเราในฐานะผู้บริโภค
-----
หรือมีคนถาม ในพันทิป

เวลามีคนทักมาทางเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ พอคุยกันได้ซักพักจะขอไปคุยทาง Line แทน โดยอ้างว่า Line เป็นส่วนตัวกว่า ทั้งๆที่ เมสเซนเจอร์ ก็ใช้งานได้เหมือนกับ Line 

*Line สามารถส่ง ลิ้งค์ ให้โหลด โปรแกรม Remote เครื่อง ง่ายกว่ามั้ง
 

*ที่ มิจฉาชีพ ใช้ LINE เพราะ ปลอดภัยกับมิจฉาชีพ  การคุยสนทนาข้อความตัวต่อตัว เปรียบเสมือนเซฟโซน  ห้องสนทนาของ LINE มีการเข้ารหัส Lg  ซึ่ง คิดตามง่ายๆ คือ  ให้ผู้ใช้บริการแบกภาระการเก็บข้อมูลเอง  LINE แค่เก็บบันทึก Logs เวลา Ip  ….. แค่นั้นเอาเป็นว่า มันปลอดภัยกับพวกมิจฉาชีพ  ตามที่มาที่ไปลำบาก(สำกรับพวกเก่งแต่ไม่จริง)และที่สำคัญ  LINE คือช่องโหว่……. ที่ Hacker ใช้โจรกรรม  Hack Email. Facebook อื่นๆ  หุหุหุหุApps LINE  ทั่วโลกแทบจะไม่ใช้งานกันเลย    มีแต่ประเทศไทย นี่แหละ ที่ใช้งานกัน แถมใช้งานกันมั่วไปหมด เอาเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวมารวมกัน

ที่มา https://pantip.com/topic/42174480

 

---อัพเดต 25/06/2024 ---

วันนี้มีคนใหม่ ไลน์ ใหม่ทักมาอีกแล้ว

 

ลองค้นๆ ดูก็มีคนสงสัย และมี ความคิดเห็น หนึ่ง มาเตือนภัยว่า
มีกลิ่นไม่ดีอยู่นะคะ ระวังเจอแบบเราค่ะ ทักเฟส+ไลน์คุยซื้อสินค้า พอเราส่งบัญชีให้โอนมา ปรากฏว่ามันเอาเลขบัญชีเราให้เจ้าทุกข์โอนมาจ่ายเรา เราโดนอายัดบัญชีเลยค่ะ ยืมมือเราชัดๆเลยค่ะ ส่วนมันก็ได้ของเราไป เราเองก็ทำได้แค่ไปแจ้งความจากชื่อเฟสมันอีกทีเพราะไม่รู้ข้อมูลส่วนตัวอะไรของนางเลย ยอดไม่ได้เยอะอะไร แวะมาเตือนภัยค่ะ
สมาชิกหมายเลข 7829352

.

สรุป ขายไม่ออก ดีกว่าเป็นความครับ ย่อได้ย่อ ย๊อออ (เสียงย่อ นี้ ผมไว้ห้ามควาย ห้ามกุเต่ยในบ้านนะครับ เวลาจะกัดสายหูฟัง ผมก็ตะโกน ย่อ... ยาวๆๆ กุเต่ยได้ยินก็หยุด มองหน้า แล้วหันไปกัด ฉับ ขาดครึ่ง)

ค่าเงินกีบลาวบ้งตอนไหน

 คือเห็นข่าวค่าเงินเพื่อนบ้านไทย คือลาว ที่ค่าเงินกีบ พุ่งไม่หยุด(พุ่งลง) แล้วยังมี ดราม่าระหว่าง ชาวเน็ตสองประเทศ เรื่อยๆ

 เราก็เลยมาดูกัน ว่าเงินกีบ ลาว บ้ง ตอนไหน

จากกราฟก่อน 

กราฟ USD/LAK

 


 
  1. Golden Cross: จุดที่กราฟระบุว่าเป็น "Golden Cross" (มองเห็นได้ชัดเจน) อยู่ในช่วงประมาณปี 2012-2013 ซึ่งเป็นสัญญาณทางเทคนิคว่ามีการเปลี่ยนแปลงทิศทางจากแนวโน้มลงไปแนวโน้มขึ้น โดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นตัดขึ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว

  2. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว: ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา อัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบกับดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมาก (เส้นสีเขียว) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่แสดงว่ามีการอ่อนค่าลงของเงินกีบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2022

  3. ดัชนีความแข็งแรงสัมพัทธ์ (RSI): ค่า RSI ซึ่งแสดงในส่วนล่างของกราฟ มีค่าอยู่ในช่วงสูงเกิน 70 (เส้นสีม่วง) ช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบพุ่งสูงขึ้นในปี 2021-2022 ซึ่งบ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่อาจมีการซื้อขายเกินหรือ overbought condition

จุดเปลี่ยนสำคัญในกราฟนี้เห็นได้ชัดเจนคือช่วง "Golden Cross" และช่วงที่กราฟพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2021-2022 ซึ่งเป็นสัญญาณของวิกฤตเศรษฐกิจและการอ่อนค่าของเงินกีบอย่างรุนแรง

สรุป คือจุดแรก คือ Golden Cross ปี 2013 น่าจะเห็น แต่ผมไม่เห็น ไม่ได้อะไร 

แต่ที่น่าจะเห็นกันชัด คือราวๆ ปี 2022 ที่กราฟ กระชาก ขึ้นไป

ต่อดูมาจากข่าว
ในปี 2022 เงินกีบของลาวประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยช่วงสิ้นปีอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบต่อดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ประมาณ 19,500 กีบต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ที่ประมาณ 9,000 กีบต่อดอลลาร์ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดสูงถึง 900 กีบต่อ 1 บาทไทย

การอ่อนค่าของเงินกีบส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นอย่างมาก​ ค่​าเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 15 ปี โดยเฉพาะราคาน้ำมันและสินค้าจำเป็นอื่นๆ ทำให้ประชาชนต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและการใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจอย่างมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ยังจัดให้เงินกีบของลาวเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ธนาคารแห่ง สปป.ลาวได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานและออกข้อตกลงใหม่ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเสริมสภาพคล่อง นอกจากนี้ยังมีการจัด​  ธนาคารชำระเงินหยวน (The Renminbi Clearing Bank in Lao) เพื่อส่งเสริมการใช้เงินหยวนและเงินกีบในการค้าและการลงทุนระหว่างลาวและจีน

ซึ่งข่าวพวกนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ 


ข่าว ลาวน้ำมันขาดแคลน ปี พ.ศ. 2565 หรือ ปี ค.ศ. 2022
อันนี้คนส่วนใหญ่ทราบ ซึ่ง ถือว่า เป็นฝีแตก หนองไหลเยิ้ม
ซึ่งช่วงนี้ มีคนลาว จำนวนไม่น้อย รู้ สภาพ แล้ว หนี มาทำงานในไทย เป็นจำนวนมาก
ซึ่งคนเหลานี้ละ เอาเงิน ตราต่างประเทศไปช่วย ครอบครัวของพวกเขา แต่ก็ถูกคนลาวบางกลุ่มต่อว่า ว่าเป็นพวกขายชาติ อันนี้ เรื่องของลาวกับลาว เราจะไม่ยุ่ง

คำถามที่เพื่อนบ้านถาม คือ เมื่อไหร่ เงินกีบ จะแข็งค่า

กราฟ USD/LAK
ถ้าให้เดาจากกราฟ ก็ ดูเหมือน RSI จะลง นะ มีโอกาสอยู่ ที่กีบจะแข็งค่า กราฟแสดงให้เห็นว่าความผันผวนของค่าเงินกีบมีแนวโน้มจะยังคงอยู่ในอนาคต

ถ้าจะให้ดู สภาพจริง ก็ต้องมาวัดที่ การปฏิรูปเศรษฐกิจ ของรัฐบาลลาวนั่น ละ
ก็มาเดาว่า ถ้า รัฐบาลลาวทำได้หรือไม่ได้

  • ในกรณีที่ดำเนินการปฏิรูปสำเร็จ: เงินกีบอาจฟื้นตัวและแข็งค่าขึ้นบ้างจากระดับปัจจุบัน โดยเฉพาะหากมีการเพิ่มรายได้ภาครัฐและปรับปรุงการลงทุนภาครัฐ-เอกชน
  • ในกรณีที่ปฏิรูปไม่สำเร็จ: เงินกีบอาจยังคงอ่อนค่าต่อไปเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินภายนอกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

    สรุป สิ่งที่ ข้าวเกรียบ และผองเพื่อน เขียนบทความนี้ก็เพื่อ ให้ดูลาว เป็นเคสศึกษา เพื่อเรียนรู้ที่จะได้รับมือ ภัย จากเงินเฟ้อ ได้ก่อนล่วงหน้า 
  • -------

    หลังจากเสือกค่าเงินกีบแล้วมาดูเงินบาทกันดีกว่า

    ซึ่ง เราจะดูกราฟ อย่างเดียว ไม่เอาข่าว เพราะเอาข่าวมา มักมีการเมือง ปนมาด้วย แล้ว  พวกการเมือง จะมาทำมิดีมิร้ายด้วย ถ้าผลออกมาเป็นผลเสียต่อฝ่ายการเมือง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่จะทำให้ การเมืองทุกฝ่ายพอใจ ดังนั้น จึงไม่เอาข่าว และ ข้อมูล มา

    จากกราฟ

    เราจะเห็นว่า ตอนนี้  ผ่าน Golden Cross มาแล้ว

    ช่วงเวลา death cross  5000 วัน จบแล้ว

    ภาพรวมของกราฟ

    1. แนวโน้มทั่วไป:

      • กราฟแสดงแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนตั้งแต่ช่วงปี 1985 ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในหลายช่วงเวลา
      • ช่วงปี 1997 (วิกฤตการเงินเอเชีย) อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงถึงการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างมาก
    2. เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average):

      • เส้นสีเขียวและสีแดงในกราฟแสดงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาต่างๆ โดยเส้นสีเขียวเป็นค่าเฉลี่ยระยะสั้นและเส้นสีแดงเป็นค่าเฉลี่ยระยะยาว
      • การตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถใช้ในการพยากรณ์แนวโน้มในอนาคต เช่น จุด Golden Cross (เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว) แสดงถึงแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และ Death Cross (เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดลงใต้เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว) แสดงถึงแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท
    3. กรอบเวลาสำคัญ:

      • ช่วงปี 2009 ถึง 2017 เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
      • ช่วงปี 2020 ถึงปัจจุบัน เงินบาทมีความผันผวนแต่เริ่มมีการฟื้นตัว

    การวิเคราะห์ทางเทคนิค

    1. แนวรับและแนวต้าน:

      • แนวรับสำคัญอยู่บริเวณ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจุดที่เงินบาทมีการอ่อนค่าในหลายครั้งที่ผ่านมา
      • แนวต้านสำคัญอยู่บริเวณ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่เงินบาทเคยแข็งค่า
    2. การเคลื่อนไหวของดัชนี RSI (Relative Strength Index):

      • ดัชนี RSI แสดงถึงแรงซื้อและแรงขายในตลาด
      • RSI ที่อยู่ในระดับสูง (เหนือ 70) บ่งชี้ว่าตลาดอยู่ในสภาวะ Overbought ซึ่งอาจมีการปรับฐานลง
      • RSI ที่อยู่ในระดับต่ำ (ต่ำกว่า 30) บ่งชี้ว่าตลาดอยู่ในสภาวะ Oversold ซึ่งอาจมีการปรับฐานขึ้น

    สรุป

    • ในระยะสั้น: เงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นหากสามารถทะลุแนวต้านที่สำคัญได้ แต่ต้องระวังการผันผวนจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก
    • ในระยะยาว: แนวโน้มขึ้นอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศและการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย





    วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

    พูดถึง โปร(ไม่)ลับรายเดือน ทรู True 100บาท 150บาท ต่อเดือน ที่ตอนนี้ผมไม่

     โปร(ไม่)ลับรายเดือน ทรู

    ปกติ โปรรายเดือน ของทรู เริ่มต้นที่ 299 บาท แต่ ก็ยังแพงไปสำหรับผม ผมเลยจะไปยกเลิก แล้วเปลี่ยนเป็นเติมเงิน
    พนักงาน ก็เลยยื่นข้อเสนอ เอาโปร 150บาทไป (ไม่รวม VAT)

    ซึ่งโปรพวกนี้ จะไม่โชว์หลาหน้าเว็บ แต่ก็ไม่ถึงขั้นโปรลับ  หรือ อะไรที่ผมรู้มามันก็ไม่ลับแล้ว 
    ซึ่งเงื่อนไขต้องเป็นลูกค้ารายเดือนที่ใช้งานมาได้ ระยะเวลาหนึ่ง
    ตอนนั้น ก็นึกว่าโปรนี้ถูกสุด แต่จริงๆ ไม่ใช่ พนักงานยังกั๊ก โปร  iSmart Life plus 100บาท ไว้อยู่

    iSmart Life Plus 100 ค่าบริการเดือนละ 100 บ. โทรฟรีทุกเครือข่าย 50 นาที, บริการ 4G
    ที่ความเร็วสูงสุด 300Mbps., 3G/EDGE/GPRS ที่ความเร็วสูงสุด 42Mbps ได้จำนวน
    1GB หลังจากนั้นจะใช้ได้อย่างต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 128Kbps., WiFi ไม่จำกัด, ส่วน
    เกินค่าโทร 1.50 บ./นาที , SMS 3 บ./ข้อความ, MMS 5 บ./ครั้ง,

    โปร 150 อีกโปร ที่คล้ายๆกันก็
    Value No Limit 150

    รายละเอียดแพ็กเกจ Value No Limit 150, เหมาจ่าย 150 บาท , โทรทุกเครือข่าย 50 นาที , 5G/4G/3G/2G ใช้งานรวมกัน 15GB ที่ความเร็วสูงสุด 4Mbps. เมื่อใช้งานความเร็วครบตามปริมาณที่กำหนด จะใช้เน็ตได้ต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุด 384 Kbps., WiFi ไม่จำกัด , ค่าบริการส่วนเกิน โทรทุกเครือข่าย 1.50 บาท / นาที , SMS 2.50 บาท / ข้อความ , MMS 4.50 บาท / ครั้ง


    ผมก็ตกลงปลงใจกับโปร RET iSmart Value 150 บาท  นี้หลายปี สุดท้าย ฝ่ายโปรขอเลิกกับผมซะงั้น

    iSmart Value 150 ค่าบริการเดือนละ 150 บ.โทรฟรีทุกเครือข่าย 150 นาที.,ได้รับ 4G ที่ความเร็วสูงสุด 300 Mbps. 3G/EDGE/GPRS ที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps จำนวน 1 GB หลังจากนั้นจะใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ที่ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 384 Kbps. , WiFi ไม่จำกัด, ส่วนเกินค่าโทร 1 บ./นาที , SMS 3 บ./ข้อความ, MMS 5 บ./ครั้ง

    โดยที่ ทรู ส่ง sms มาว่า โปรคุณหมดอายุขัย เปลี่ยนเป็นโปรที่แพงกว่านี้ซะดีๆ
    จริงก็ไม่อยากเปลี่ยนหรอก ตอนนี้ ของแพง ขึ้นแทบทุกอย่าง ข้าวขึ้นทุกร้าน กาแฟ ถุงขึ้น5บาท น้ำมันก็ขึ้นไม่มีลง เงินก็ดูจะเฟ้อ ค่าเช่าบ้านเดียวก็ขึ้น แต่รายได้ ไม่ได้ขึ้น เอาเถอะขึ้นกันหมดละ ค่าโทรศัพท์ก็ต้องโดน


     

    ก็ตอนนี้มีสองทางเลือก คือ 1ให้ทรูเลือกให้ 2 เลือกเอง ว่าจะเอาโปรไหน หรือ ย้ายค่าย หรือ เปลี่ยนเป็นเติมเงิน

    โดยเงื่อนไขผมคือ มือถือ 4G อยู่ ตจว ไฟดับ เน็ตบ้านไม่มี  4g ก็หวันตาม แต่ นานๆที ก็ต้องออกไปทำธุระข้างนอกที่ หรือบางทีเน็ตเสียหลายวัน 

    ตัวอย่าง เดือนนี้ จะไปหมดสิ้นเดือน ซึงปกติ ถ้าไม่โทรก็ไม่โทร แต่ถ้าคุย บางที 500 นาทีบวกๆ เพราะคุยกันบางที่1-2ชั่วโมงต่อคน นี้ยังไม่จบ แล้วโยงไปโยงมา ต้องพูดซ้ำเรื่องเดิมๆอีก บันเทิงเลยทีเดียว


    มาดูโปรแรก ภาพบน 

    199 บาท โทรได้น้อยลง 1/3 แถม ค่าโทรเกิน เพิ่ม 50% ได้เน็ตเพิ่มมา 1GB

    iSmart Life Plus 199
    ค่าบริการเดือนละ 199 บ. โทรฟรีทุกเครือข่าย 100 นาที, บริการ 4G ที่ความเร็วสูงสุด 300Mbps., 3G/EDGE/GPRS ที่ความเร็วสูงสุด 42Mbps ได้จำนวน 2GB หลังจากนั้นจะใช้ได้อย่างต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 128Kbps., WiFi ไม่จำกัด, ส่วนเกินค่าโทร 1.50 บ./นาที , SMS 3 บ./ข้อความ, MMS 5 บ./ครั้ง,  


    โปรนี้ แพงกว่า โดยใช่เหตุ ไม่อาววว ไม่อาว ไม่เอา

    มาโปรต่อไป

    ภาพล่าง

    Special Net Unlimited Plus  , เหมาจ่าย 200 บาท / เดือน , โทรในเครือข่ายทรูมูฟ เอช ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง , 4G/3G ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง (ไม่ลดสปีด) ที่ความเร็วสูงสุด 4 Mbps., WiFi ไม่จำกัด , ค่าบริการส่วนเกิน โทรนอกเครือข่าย 2 บาท / นาที , SMS 3 บาท / ข้อความ , MMS 5 บาท / ครั้ง ,
    (น่าจะเป็นตัวนี้ละ)

    จากเดิม ค่าโทร เกิน ตกนาทีละบาททุกเครือข่าย ตอนนี้กลายเป็น 2 บาท ถ้าไม่ใช่ทรู หรือ เพิ่ม 100 % ซึ่งมีแต่ผม ที่ใช้ทรู  อันนี้โทรธุระ โทรซื้อของ โทรหา พัสดุ โดนเกินแน่นอน  ของเก่า ได้ 150 นาที โทร ชิวๆ ไม่เกิน 

    อีกโปรสองร้อยเท่ากัน   5G Special Max Speed Plus ภาพล่าง



     5G Special Max Speed Plus แพ็คเกจจำกัดปริมาณ โดยสามารถใช้งาน 5G ที่ความเร็วสูงสุด 1 กิกกะบิต/วินาที (Gbps), 4G ที่ความเร็วสูงสุด 300 เมกะบิต/วินาที (Mbps) และ 3G ที่ความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิต/วินาที (Mbps) ใช้งานรวมกัน 40 กิกะไบต์    เมื่อใช้งานความเร็วครบตามปริมาณที่กำหนด จะใช้เน็ตได้ต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุด 1 เมกะบิต/วินาที (Mbps) 

    --จุดแก้ไข--

     โทร 1.5บาท
    เศษของนาทีนับเป็นหนึ่งนาที
    sms 2.5mms 4.5

    การโทร เหมือนกับ อันแรกคือ ลด ลง 1/3 แล้ว แพงขึ้น ถ้าโทรเกิน 50%

    ต่อมาเน็ต 40GB ต่อเดือน ใช้ได้ขนาดไหน 
    มาคำนวณกัน 

    ตัวอย่างแรก ใช้ mv Chandelier 3:51 นาที 1080p  37.MB

    ตัวอย่างที่สอง mv  Cheap Thrills  4:21 นาที 1080p 80.6 MB

    ตัวอย่างที่ 3 mv Closer ft. Jennie A. (UK Version)   4:16 นาที 1080p 78.9 MB

    ตัวอย่างที่ 4 ซาซากิกับพีจัง - ตอนที่ 01  48:20 นาที 720p 112.0 MB

    ตัวอย่างที่ 5 Loud House & Casagrandes Most EMBARRASSING School Moments  10:35 นาที 1440p 227.0 MB

    จากการคำนวณ แต่ละคลิป ใช้ข้อมูล 

    ตัวอย่างที่ 1 : 0.162 MB/s

    ตัวอย่างที่ 2 : 0.309 MB/s

    ตัวอย่างที่ 3 : 0.308 MB/s

    ตัวอย่างที่ 4 : 0.039 MB/s

    ตัวอย่างที่ 5 : 0.357 MB/s

     เอามาเฉลี่ยสูตร ป.1 ได้ 0.235 MB/s

    40 GB จะใช้ได้ = 40*1024/0.235/3600= 48.4 ชั่วโมง
    แต่ ตัวเลข 40Gb น่าจะเป็นตัวเลขสำหรับการตลาด สูตรต้องเป็น 40*1000/0.235/3600= 47.3 ชั่วโมง
    เฉลี่ย ดูคลิป ยูทูป การ์ตูน  MV  ได้ราวๆ 1:35 ชั่วโมง  (1ชั่วโมง 35นาที ) ต่อวัน 

    ถ้าใช้ตัวเลข max  จาก ตัวอย่างที่ 5  1440p จะได้ 40*1000/0.357/3600/30 = 1:02 ชั่วโมง (1ชั่วโมง 2นาที ) ต่อวัน

    แต่ถ้าใช้ตัวอย่างต่ำสุดคือ  ตัวอย่างที่ 4 ซาซากิกับพีจัง - ตอนที่ 01 720p  จะได้ 40*1000/0.039/3600/30 = 9:30 ชั่วโมง   (9 ชั่วโมง 29.8นาที ) 

     

    สรุป ว่า ใช้ค่าเฉลี่ย  1:35 ชั่วโมง  (1ชั่วโมง 35นาที ) ต่อวัน
    ถือว่า ได้อยู่  เพราะ อย่างมาก เน็ตบ้านน่าจะเน่า7วัน หรือรวม ธุระนอกบ้านนอกที่ทำงาน  ก็ 7วัน
    ก็ถ้าใช้ 7 วัน ก็ตกวันละ 6ชั่วโมง  45นาที (6:45) พอใช้สบายๆ

    สรุป เลือกตัวนี้ดีกว่า 

    (ใช่ๆมีอีกตัว เหมือนกัน แต่ 249 บาท ได้ 60 Gb ลองคำนวน 60*1000/0.235/3600/30

    ตกวันละ 2ชั่วโมง 22 นาที ได้เพิ่มมาอีก 50% แต่ไม่เอาอ่ะ เวลาโทร ไม่เพิ่ม

    )

    โอเคเปลี่ยนแล้ว เดือน 6 จะได้ใช้ แต่ ของเก่าหมดเดือน 8 หมายควายว่า ซื้อเร็วไป 2เดือน โดนไป 100บาท และเสีย ไป 100 นาที

     

    แล้วจาก เฉลี่ย  ใช้ข้อมูล 0.235 MB/s  แล้ว เน็ต 1Mb/s พอไหม ตอบไม่พอครับ

    1B=8b   0.235*8 =  1.88Mb/s  อันนี้ พูดตรงๆว่า Net 2Mb ยังดูสดุด ครับ ต่อให้ มันจะมากกว่า ก็ตาม เพราะ วิ่งจริงได้ 60-80% ของเน็ต ครับ  หรือ ต้องใช้เน็ต 1.88Mb/s    / 0.8 = 2.35Mb

    หรือถ้าเอาจากตัวอย่างที่ สอง  mv  Cheap Thrills  4:21 นาที 1080p 80.6 MB  0.309 MB/s  2.472Mb/s

    ก็ต้องใช้เน็ต ประมาณ 2.472Mb/s / 0.8 = 3.09

    อันนี้ เน็ต 3Mb/s จะมีสดุดอยู่บ้างเล็กน้อย  แล้วประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อด้วยครับ

     

    แต่ถ้าใช้   ตัวอย่างที่ 4 ซาซากิกับพีจัง - ตอนที่ 01  48:20 นาที 720p 112.0 MB ตัวอย่างที่ 4 : 0.039 MB/s

    0.312Mb/s  อันนี้   เน็ต 1Mb/s เอาอยู่

    ต่อมา ลองคำนวณความคุ้ม ค่า เน็ต 4Mb/s ดู  ใช้ ตัวอย่างที่ 2 : 0.309 MB/s 80.6 MB

    4Mb/s = 0.5MB/s  ใช้เวลาโหลด เร็วที่สุด  161.2s

    คิด ประสิทธิภาพ 80% = 0.4MB/s 200s    หรือ สามนาที20วินาที กับคลิป ยาว สี่นาที ยี่สิบเอ็ดวินาที ถือว่า ทันกัน

    ดังนั้น สรุป ว่า เน็น 4Mb/s ครอบคลุมการดู คลิป 1080p ได้สบายๆ

    ลองดูประสิทธิภาพ 80%  1 ชั่วโมง ละ
    ถ้าใช้โหลด ไฟล์ คิด 80% 0.4MB/s *3600 = 1440 MB = 1.406GB

    ถ้า ดูหนัง 1080p (ใช้ตัวอย่างที่ 2)  0.309 MB/s  * 3600 = 1,112.4MB = 1.086GB

     

    จากอันนี้ เราจะเห็นว่า ถ้าใช้เน็น 4Mb/s จะมีความคุ้มค่ากว่า แพ็คเน็ต 1GB

    เพราะเน็ต
    4Mb/s(0.4MB/s) แค่ 1ชั่วโมง ก็สามารถ โหลด ไฟล์ ได้เกิน 1GB แล้ว

    แล้วพูดตรง ผมไม่แน่ใจว่า 1GB = 1,024MB=1,048,576KB= 1,073,741,824B หรือ จากค่าการตลาด ถ้าตัวเลยการตลาด จะเป็น   1,000,000,000B=946562.5KB=953.8MB=0.93GB กันแน่
    1GB กับ 0.93GB ผมติ๊ต่างว่า สมัยนี้ เขาไม่ดูถูกลูกค้า คงเป็น 1GB เต็มๆนั่นละ

    ถ้าใช้ ตัวอย่างที่ 4 ซาซากิกับพีจัง - ตอนที่ 01  48:20 นาที 720p 112.0 MB

     0.039 MB/s   * 3600 = 140.4MB = 0.14GB

    ท้าเทียบกับเน็ต 1024MB (1GB จริงๆ) ก็จะได้ 7.3ชั่วโมง ราวๆ 7ชั่วโมง ยี่สิบนาที

    ก็ไม่ได้แย่
    สรุปก็ คือ
    ถ้าใช้เยอะ ใช้ เน็ตไม่อั้น
    4Mb/s ถือว่าผ่าน
    ถ้าใช้น้อย ใช้เน็ตบ้านเป็นหลัก เน็ตมือถือนานๆใช้ที ใช้ แพ็ค 
    40GB ก็พอ

    แต่จากการคำนวณ  
    4Mb/s 72 ชั่วโมง โหลด ไม่มากกว่า  40GB แบบเทียบไม่ติด

    40*1024 MB ÷ 0.5MB/s = 81920s =22.8Hr

    คือตั้งหน้าตั้งตาโหลด วันละ 8 ชั่วโมง สามวัน ก็เกิน 40GB แล้ว

    แต่สำหรับ ผม ผมต้องดูค่าโทร ต่างเครื่อข่ายด้วย และผมใช้เน็ตบ้านใยแก้วเป็นหลัก
    ดังนั้น ผมจึงเลือกแพ็ค
    40GB /เดือน นั่นละครับ