วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คณิตกรณ์

ระหว่างที่ผมเถียงกันกับรุนน้องว่า คอมพิวเตอร์ มีคำเฉพาะของมัน ส่วนรุ่นน้องบอกว่า มันแปลไทยว่า เครื่องประมวลผล
ผมก็เลยเซิทหาอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ได้เจอบทความนี้ของคุณ จิ๊กกี [14 มี.ค. 52 7:43] ( IP A:194.209.66.41 X: )
จาก http://www.pantown.com/board.php?id=9908&area=4&name=board5&topic=338&amp
;action=view

และ คุณสรจักษ์ ศิริบริรักษ์  จากนิตยสาร แพรว 25 ธันวาคม 2549
วิชาคณิตกรณ์
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมถูกรุ่นน้องขอร้องให้ไปบรรยายกะทันหันวันรุ่งขึ้นเรื่อง
>
>
> การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยราชการ เพราะวิทยากรซึ่งก็คือ
> สามีของเธอป่วยกะทันหัน เธอให้ข้อมูลว่าผู้เข้ารับการอบรมชุดนี้เป็นข้าราชการ
> ที่ถูกบังคับให้มาอบรมเพราะไม่ผ่านการประเมิน ความรู้ด้านสารสนเทศ บางคน ซีแปด
> ซีเก้าแต่มีแนวคิดศักดินา เห็นเอกชนคนไม่มียศเป็นบริวารไปหมด ขอให้ผมอดทนบรรยาย
> ให้จบตามหัวข้อ อย่าโต้ตอบ ผมรับปาก
>
> เมื่อไปถึงห้องบรรยาย
> ผมก็เริ่มเข้าใจคำพูดของรุ่นน้องแต่ละคนคุยกันอื้ออึงขณะผมแนะนำตัว
>
>
> ชายคนหนึ่งพูดเสียงดังให้ผมสอนวิธีแชตหาคู่ การดูคลิปวิดิโอและเว็บไซต์โป๊
>
>
> หลายคนหัวเราะสนับสนุน ผมต้องตะล่อมให้เข้าสู่บทเรียนว่า
>
>
> "ได้ครับ แต่ต้องหัดเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน จึงจะเข้าไปดูได้"
>
>
> ได้ผล ทุกคนเริ่มหาปุ่มเปิดเครื่อง และความโกลาหลก็เริ่ม
>
>
> เพราะวิธีเปิดปิดของเครื่องแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน
>
>
> และที่น่าเวียนหัวที่สุดคือ ทำทุกอย่างแต่เครื่องไม่ทำงาน
>
>
> หาอยู่นานจึงพบว่าปลั๊กไม่ได้เสียบแค่เปิดครบทุกเครื่องก็ถึงเวลาพักทานกาแฟแล้ว
>
> หลังหมดเวลาพัก
> ผู้เข้าอบรมก็ยังยืนสูบบุหรี่หรือจับกลุ่มคุยกัน
>
>
> ผมต้องประกาศผ่านไมค์เชิญเข้าห้อง บางคนมองด้วยความไม่พอใจ
>
>
> ผมชี้แจงว่าต้องรีบสอน "เพราะยังมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้
>
>
> เช่น มอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ โมเด็ม ยูพีเอส..."
>
>
> คุณพี่ผู้หญิงคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นมาว่า
>
>
> " ขอโทษนะคะ ตามระเบียบสำนักนายกฯ เวลาพิมพ์เอกสารราชการต้องใช้ภาษาไทย
>
>
> ช่วยแปลไอ้เตอร์ๆ เด็มๆ อะไรของคุณให้เป็นคำไทยหน่อยได้ไหมคะ
>
>
> จะได้ก่อประโยชน์กับการทำงานบ้าง..."
>
>
> มีเสียงลอยมาตามลดให้ได้ยินจากท้ายห้องว่า
>
>
> เด็กสมัยนี้ ติดไทยคำฝรั่งคำอยากให้รู้ว่าจบนอก
>
> ผมฉุนกึก สูดหายใจยาว
>
>
> "ได้ครับ งั้นเอาใหม่ เรารู้วิธีเปิดเครื่องคณิตกรณ์แล้ว
>
>
> บางเครื่องอาจเป็นคณิตกรณ์ส่วนบุคคล บางเครื่องเป็นคณิตกรณ์วางตัก
>
>
> แต่ไม่ว่าอย่างไรมันจะทำงานไม่ได้ ถ้าขาดชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการและ
>
>
> ชุดคำสั่งประยุกต์อื่นๆ ประการต่อมา คณิตกรณ์จะต้องมีครุภัณฑ์ต่อพ่วง
>
>
> ซึ่งทำหน้าที่หลักสองรูปแบบ คือ นำเข้าข้อมูลไปส่งหน่วยประมวลผลกลาง
>
>
> กับนำข้อมูลที่ประมวลแล้วมาแสดงให้เราดู"
>
> ผมชี้ไปที่จอภาพ
>
>
> "นี่คือเครื่องเฝ้าสังเกตซึ่งอาจหนาเทอะทะแบบจอโทรทัศน์
>
>
> หรือเป็นจอภาพผลึกเหลวที่ให้ความคมชัดกว่า
>
>
> ส่วนครุภัณฑ์ต่อพ่วงที่นำเข้าข้อมูลไปให้หน่วยประมวลผลกลาง
>
>
> อาจอยู่ในรูปหน่วยขับ ก และหน่วยขับ ข ซึ่งสามารถอ่านและบันทึก
> ข้อมูลเก็บไว้ในแผ่นบันทึกชนิดอ่อนปวกเปียก( floopy)
>
>
> หรือในจานบันทึกแบบแข็งที่หน่วยขับ
>
>
> อุปกรณ์นำเข้าและส่งออกข้อมูล ยังมีในรูปแบบอืนๆอีก เช่น
>
>
> เครื่องกราดภาพ ตัวกล้ำและแยกสัญญาณ โทรภาพ
>
>
> แต่ที่ขาดไม่ได้เลย คือสิ่งนี้"
>
> ผมยกคีย์บอร์ดขึ้นมา
> " แผงแป้นอักขระซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดที่เราจะป้อนชุด
> คำสั่งเข้าสู่เครื่องคณิตกรณ์ จะเห็นว่าบนแผงแป้นอักขระจะมีกระดุมหรือ
>
>
> ปุ่มอักขระมากมายมีทั้งที่คุ้นเคยกันดี เช่น มหัพภาค อัฒภาค ทวิภาค วิภัชภาค
> ยัติภังค์ ปรัศนี อัศเจรีย์ เสมอภาค สัญประกาศ ทีฆสัญญา กับที่ยังไม่ได้บัญญัติ
> ศัพท์ เช่น กระดุมสอดแทรก กระดุมเข้าไป กระดุมหลบหนี กระดุมอวกาศถอยหลัง
> หรือ backspace..."
>
>
>
>
>
> วันนั้นไม่มีใครได้ดูคลิปวิดีโอ
>
>
>
>
>
> ต่อมาผมได้รับผลการประเมินการสอนว่า
>
>
> "ไม่น่าพอใจ และพูดภาษาไทย แต่ไม่รู้เรื่อง"
โดย: จิ๊กกี [14 มี.ค. 52 7:43] ( IP A:194.209.66.41 X: )
--------------------------------------------------------------------
และ จากhttp://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=38372&in=1
" ศักยภาพของภาษาไทยกับการสอนเท็คโนโลยีสมัยใหม่ "


บทความเรื่อง

“กระดุมอวกาศถอยหลัง”

สรจักษ์ ศิริบริรักษ์

จากนิตยสาร แพรว 25 ธันวาคม 2549



-----------------------------------------------------------------------------------------

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมถูกรุ่นน้องขอร้องให้ไปบรรยายกะทันหันวันรุ่งขึ้นเรื่องการใช้ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยราชการ เพราะวิทยากรซึ่งก็คือสามีของเธอ ป่วยกะทันหัน



เธอให้ข้อมูลว่าผู้เข้ารับการอบรมชุดนี้เป็นข้าราชการที่ถูกบังคับให้มาอบรมเพราะไม่ผ่าน การประเมินความรู้ด้านสารสนเทศ บางคนซีแปดซีเก้าแต่มีแนวคิดศักดินา เห็นเอกชนคน ไม่มียศเป็นบริวารไปหมด ขอให้ผมอดทนบรรยายให้จบตามหัวข้อ อย่าโต้ตอบ ผมรับปาก



เมื่อไปถึงห้องบรรยาย ผมก็เริ่มเข้าใจคำพูดของรุ่นน้อง แต่ละคนคุยกันอื้ออึง ขณะผมแนะนำตัว ชายคนหนึ่งพูดเสียงดังให้ผมสอนวิธีแชตหาคู่ การดูคลิปวิดิโอ และเว็บ ไซต์โป๊ หลายคนหัวเราะสนับสนุน ผมต้องตะล่อมให้เข้าสู่บทเรียนว่า "ได้ครับ แต่ต้องหัด เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน จึงจะเข้าไปดูได้"



ได้ผล ทุกคนเริ่มหาปุ่มเปิดเครื่อง และความโกลาหลก็เริ่ม เพราะวิธีเปิดปิดของเครื่องแต่ ละรุ่นไม่เหมือนกัน และที่น่าเวียนหัวที่สุดคือ ทำทุกอย่าง แต่เครื่องไม่ทำงาน หาอยู่นานจึง พบว่าปลั๊กไม่ได้เสียบ แค่เปิดครบทุกเครื่องก็ถึงเวลาพักทานกาแฟแล้ว



หลังหมดเวลาพัก ผู้เข้าอบรมก็ยังยืนสูบบุหรี่หรือจับกลุ่มคุยกัน ผมต้องประกาศผ่านไมค์เชิญ เข้าห้อง บางคนมองด้วยความไม่พอใจ ผมชี้แจงว่าต้องรีบสอน "เพราะยังมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ เช่น มอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ โมเด็ม ยูพีเอส..."



คุณผู้หญิงคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นมาว่า "ขอโทษนะคะ ตามระเบียบสำนักนายกฯ เวลาพิมพ์ เอกสารราชการต้องใช้ภาษาไทย ช่วยแปลไอ้เตอร์ๆ เด็มๆ อะไรของคุณให้เป็นคำไทย หน่อยได้ไหมคะ จะได้ก่อประโยชน์กับการทำงานบ้าง..." มีเสียงลอยมาตามลดให้ได้ยินจากท้ายห้องว่า เด็กสมัยนี้ ติดไทยคำฝรั่งคำ อยากให้รู้ว่าจบนอก



ผมฉุนกึก สูดหายใจยาว "ได้ครับ งั้นเอาใหม่ เรารู้วิธีเปิดเครื่องคณิตกรณ์แล้ว บาง เครื่องอาจเป็นคณิตกรณ์ส่วนบุคคล บางเครื่องเป็นคณิตกรณ์วางตัก แต่ไม่ว่าอย่างไร มันจะ ทำงานไม่ได้ ถ้าขาดชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการและชุดคำสั่งประยุกต์อื่นๆ"



"ประการต่อมา คณิตกรณ์จะต้องมีครุภัณฑ์ต่อพ่วงซึ่งทำหน้าที่หลัก สองรูปแบบคือ นำเข้าข้อมูลไปส่งหน่วยประมวลผลกลางกับนำข้อมูลที่ประมวลแล้วมาแสดงให้เราดู"ู



ผมชี้ไปที่จอภาพ "นี่คือเครื่องเฝ้าสังเกต ซึ่งอาจหนาเทอะทะแบบจอโทรทัศน์หรือเป็นจอภาพผลึกเหลวที่ให้ความคมชัดกว่า ส่วนครุภัณฑ์ต่อพ่วงที่นำเข้าข้อมูลไปให้หน่วยประมวลผลกลางอาจอยู่ในรูปหน่วยขับ ก และหน่วยขับ ข ซึ่งสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลเก็บไว้ใน แผ่นบันทึกชนิดอ่อนปวกเปียก (floopy) หรือในจานบันทึกแบบแข็งที่หน่วยขับ ค"



"อุปกรณ์นำเข้าและส่งออกข้อมูล ยังมีในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น เครื่องกราดภาพ ตัวกล้ำและแยกสัญญาณ โทรภาพ แต่ที่ขาดไม่ได้เลย คือสิ่งนี้"



ผมยกคีย์บอร์ดขึ้นมา "แผงแป้นอักขระ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดที่เราจะป้อนชุดคำสั่งเข้าสู่ เครื่องคณิตกรณ์ จะเห็นว่าบนแผงแป้นอักขระจะมีกระดุมหรือปุ่มอักขระมากมาย มีทั้งที่คุ้นเคยกันดี เช่น มหัพภาค อัฒภาค ทวิภาค วิภัชภาค ยัติภังค์ ปรัศนี อัศเจรีย์ เสมอภาค สัญประกาศ ทีฆสัญญา กับที่ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ เช่น กระดุมสอดแทรก กระดุมเข้าไป กระดุมหลบหนี กระดุมอวกาศถอยหลัง หรือ backspace..."



วันนั้นไม่มีใครได้ดูคลิปวิดีโอ ต่อมาผมได้รับผลการประเมินการสอนว่า "ไม่น่าพอใจ และ พูดภาษาไทย แต่ไม่รู้เรื่อง"