วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

ว่ากันเรื่อง Soft Power (ซอฟพาวเวอร์) ของฝรั่งมังค่า

 ว่ากันเรื่อง Soft Power (ซอฟพาวเวอร์) ของฝรั่งมังค่า

ซอฟพาวเวอร์  ซึ่งมีความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วมมากกว่าการบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น เช่น ดารา นักร้อง ข่าว บทความ ละคร เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่ง ฯลฯ

ซอฟพาวเวอร์ในการสงครามสมัยใหม่ ก็เช่นสื่อต่างๆที่ทำให้ตัวเองดูดี ให้ศัตรูแย่ ตั้งแต่ หนังสือ แผ่นพับ โฆษณาชวนเชื่อ ถ้าสมัยนี้ ก็ เน็ต หนัง ละคร การ์ตูน เกม หรือแม้กระทัง  เซิสเอนจิ้น ที่ให้ข่าวหรือข้อมูลที่ตัวเองต้องการอยู่ในการค้นหาต้นๆ ส่วน สิ่งไหนที่ไม่ต้องการ ก็ไม่ให้คนเจอ หรือแม้แต่กระทั้ง การแบน เซ็นเซอร์ เว็บหรือบุคคล* เป็นต้น

ตอนนี้เราจะเห็น ฝรั่งใช้ ซอฟพาวเวอร์  ในการทำสงคราม กับรัสเซีย จีน ไทย อิรัก ซีเรีย ฯลฯ  จนตอนนี้สงครามตัวแทน (proxy war) ในพม่า เราก็เห็นการใช้ซอฟพาวเวอร์  ผ่าน NGO สำนักข่าวจัดตั้งรับทุนจากฝรั่ง แล้ว ฝรั่งก็แชร์ข่าวต่อไปอีกทีให้โลกรู้ และมีการปิดกั้น สำนักข่าวอีกฝั่ง ทั้งทางเฟสบุ๊ค ยูทูป ฯลฯ

ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ตรงนั้น  เรามีตัวอย่าง ที่ น่าสนใจเช่น เรื่อง Highway of Death ที่อเมริกาทำชั่วเอง แต่เด็กหลายคน คิดว่ารัสเซีย เป็นคนทำ แล้วอเมริกาเป็นพระเอก  ถามว่าได้ไง? ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่า ซอฟพาวเวอร์  นั่นละ  แต่รอบนี้ไม่ได้มาในรูปแบบ หนังฮอลลีวูด แต่เป็นเกม ดัง คนเล่นกันเยอะ ผมก็เล่น ตอนเล่นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก จนมีเกมเมอร์ รัสเซีย ออกมาโวย นั่นละ  ว่า ไอ้เรื่องระยำแบบนี้ รัสเซียไม่เคยทำ แต่ อเมริกานั่นละทำ

เรื่องนี้คือเรื่อง 
Highway of Death
ที่ประชาชนชาวอิรัก ซวย
ต่อไปนี้จะขอก็อปปี้ บทความจาก https://gamerism.co มาเต็มๆเลยละกันครับ https://gamerism.co/highway-of-death-modern-warfare/

Highway of Death จาก Modern Warfare สู่โศกนาฏกรรมในความเป็นจริง

การสังหารหมู่ที่เหี้ยมโหดที่สุดที่โลกกำลังจะลืมเลือน


 

Call of Duty: Modern Warfare ได้ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนตุลาคมของปี 2019 มันคือการกลับสู่รากเหง้าของความเป็น Call of Duty อีกครั้งและยังมาพร้อมกับเนื้อหาที่หนักแน่นที่ทาง Infinity Ward ทีมงานผู้สร้างต้องการที่จะสะท้อนภาพของสงครามในความเป็นจริงออกมา แต่ด้วยความบิดเบี้ยวในประวัติศาสตร์ฉบับสร้างใหม่ของตัวเกม มันกลับกลายเป็นการสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับนักเล่นเกมชาวรัสเซียกับที่มาของ “ทางหลวงสายมรณะ” หรือ “Highway of Death” ที่เป็นโศกนาฏกรรมจากฝีมือของกองกำลังสหรัฐฯ ในโลกแห่งความเป็นจริง
Highway of Death ในโลกวิดีโอเกม

ในเกม Call of Duty: Modern Warfare ช่วงกลางเกมจะมีหนึ่งภารกิจของเกมที่ชื่อว่า” Highway of Death” มันคือชื่อที่ตั้งขึ้นจากชื่อของ “ทางหลวงสายมรณะ” ในโลกแห่งความเป็นจริงที่ตั้งอยู่ที่บริเวณรอบนอกของเมืองคูเวตซิตีในประเทศคูเวต มันคือถนนที่ทอดยาวออกจากตัวเมืองและมันก็คือสถานที่อันเป็นเศษซากจากการกระทำอาชญากรรมสงครามที่เชื่อกันว่ามันเป็นฝีมือของกองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกา

ท่ามกลางภารกิจและเรื่องราวมากมายใน Modern Warfare เกมให้ผู้เล่นได้รับบทเป็นเจ้าหน้าที่ CIA ที่ต้องต่อสู้ร่วมกับกลุ่มกองกำลังเพื่ออิสรภาพในประเทศสมมติในตะวันออกกลางที่พวกเขาตั้งชื่อมันว่า “เออซิคสถาน” ซึ่งผู้เล่นก็จะได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากลุ่มกบฏ ในการลอบโจมตีเป้าหมายที่หลบหนีมายังเส้นทางในพื้นที่แถบ Highway of Death นี้นั่นเอง

“หากพวกมันต้องการจะหนีไปยังภูเขา มันก็มีเพียงถนนเส้นเดียวเท่านั้น นั่นคือทางหลวงสายมรณะ พวกรัสเซียได้ทิ้งระเบิดลงในตอนที่พวกมันกำลังรุกรานเข้ามาและฆ่าทุกคนที่พยายามจะหลบหนี” นั่นคือประโยคที่หัวหน้ากองกำลังกบฎได้เล่าเรื่องราวของ Highway of Death ให้กับผู้เล่นได้ฟัง

แม้มันจะเป็นเพียงแค่วิดีโอเกมแต่สิ่งที่ Modern Warfare ฉายภาพออกมาอย่างชัดเจนนั่นคือเรื่องราวการต่อสู้ในสงครามตัวแทน (Proxy war) ที่ทางสหรัฐฯ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในฐานะวีรบุรุษสงครามเพื่อจัดการรัสเซียผู้ชั่วร้ายอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งในเกมได้สร้างวายร้ายอย่างนายพล Roman Barkov ขึ้นมาเป็นตัวแทนของความต่ำช้าทั้งหมดทั้งปวง ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โสมมในวิดีโอเกมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสังหารหมู่, การให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย และการโจมตีโดยการใช้อาวุธชีวภาพ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงล่ะใครกันแน่ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโศกนาฏกรรมของทางหลวงสายมรณะแห่งนี้
 

Highway of Death ในโลกแห่งความเป็นจริง

ในช่วงฤดูหนาวของปี 1990-91 กองกำลังตะวันตก (Western force) ที่อยู่ภายใต้การควบคุมและจัดสรรของสหรัฐอเมริกาได้อย่างกรายเข้าไปยังชายแดนทางทิศเหนือของประเทศซาอุดีอาระเบียเพื่อการรุกรานครั้งใหญ่ เป้าหมายของการเคลื่อนกำลังในครั้งนี้คือการขับไล่กองกำลังทหารอิรักของทางประธานาธิบดี “ซัดดัม ฮุสเซน” ให้ออกไปจากประเทศเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยนน้ำมันอย่างคูเวตเพื่อทำการปลดปล่อยประเทศคูเวตให้เป็นอิสระ ความขัดแย้งในครั้งนี้ได้นำไปสู่เหตุการณ์ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีกับเหตุการณ์ “สงครามอ่าวเปอร์เซีย” (Gulf War) นั่นเอง และมันก็เป็นสัญญาณแรกเริ่มของนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในยุคใหม่ ที่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางของการทำสงครามของกองกำลังตะวันตกกับประเทศในพื้นที่ละแวกตะวันออกกลางไปตลอดกาล

การรุกรานในครั้งนี้ของกองกำลังสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การดูและของนายพล Norman Schwarzkopf เขาคือผู้อยู่เบื้องหลังยุทธการอันเด็ดขาดนั่นคือการจู่โจมภาคพื้นดิน 100 ชั่วโมง และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้กลยุทธ์การโจมตีในครั้งนี้ประสบความสำเร็จนั่นก็คือความเหนือกว่าของกองกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ ที่คุมน่านฟ้าไว้ทั้งหมด มันคือกลยุทธ์แบบเบ็ดเสร็จที่เขาได้ใช้มันในการจู่โจมกองกำลังยานเกราะของอิรัก แม้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการโจมตีครั้งนี้มันจะเสี่ยงต่อการที่จะถูกฝ่ายอิรักโจมตีกลับได้โดยง่ายก็ตาม

หนึ่งในพื้นที่การสู้รบที่อันตรายที่สุดของสงครามอ่าวเปอร์เซีย มันคือสถานที่ที่ถอดยาวออกมาจากตัวเมืองคูเวตซิตี มันคือถนนสายหนักที่มุ่งตรงไปยังทางเหนือของชายแดนประเทศอิรัก ที่ทางกองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐได้พบกับกลุ่มคอนวอยขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนถนนแห่งนี้อยู่ในที่แจ้ง และมีรถยานเกราะทางการทหารติดตามอยู่ในขบวนด้วย เพียงเท่านี้มันก็เป็นสาเหตุที่เพียงพอสำหรับกองกำลังสหรัฐฯ ในการโจมีตีล้อมหน้าล้อมหลังขบวนคอนวอยจนทำให้ ยานพาหนะกว่า 2,000 คันติดอยู่ในทางหลวงขนาดหกเลน ก่อนที่จะตามมาด้วยการทิ้งระเบิดและยิงโจมตีแบบปูพรมโดยเครื่องบิน A-10 Warthogs และเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธจนไม่เหลือผู้รอดชีวิตแม้แต่คนเดียว โดยที่เหล่านักบินเรียกการจู่โจมในครั้งนี้ว่า “การยิงไก่งวง” (turkey shoot) หรือการยิงเป้านิ่งตามงานเทศกาลต่างๆ นั่นเอง




การโจมตีด้วยอาวุธอันโหดเหี้ยมของกองกำลังสหรัฐฯ ในครั้งนี้ได้นำมาสู่คำถามจากสังคมมากมาย หลังจากที่ภาพหลังจากเหตุการณ์ในการโจมตีครั้งนี้ได้ปรากฏออกมาตามหน้าข่าวของสื่อมวลชนที่ประจำการอยู่ในละแวกพื้นที่ มันเต็มไปด้วยภาพความโหดร้ายที่น่าตกใจและน่าเวทนา สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียงแค่เศษซากของสิ่งมีชีวิตที่อดีตเคยเป็นมนุษย์ และซากปรักหักพัง ผู้คนที่อยู่ในขบวนคอนวอยต่างถูกแรงระเบิดไหม้กลายเป็นเถ้าถ่าน จนทำให้สื่อหลายสำนักไม่อาจเผยแพร่ภาพออกมาได้ จนเมื่อปี 2005 ชาวอเมริกันก็ได้ประจักษ์กับภาพของความอำมหิตของเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์ Jarhead ของผู้กำกับ Sam Mendes ที่ Jake Gyllenhaal นำแสดงนั่นเอง

การโจมตีบนทางหลวงสายมรณะได้ถูกสังคมตั้งคำถามต่อมาตรการทางการทหารของสหรัฐฯ ที่เรื่องราวเริ่มซับซ้อนมากขึ้นเมื่อมีรายงานออกมาว่าขบวนคอนวอยดังกล่าวนั้นคือขบวนที่กำลังอยู่ในระหว่างการถอนกำลังจากคำสั่งของกองกำลังสหประชาชาติ นั่นหมายความว่าถึงแม้มันจะมีจำนวนของรถยานเกราะทางการทหารที่มีจำนวนอย่างมีนัยสำคัญ แต่มันก็ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการโจมตีได้ไม่ว่าจะใดๆ ก็ตาม นอกจากนี้ในรายงานยังได้ระบุอีกด้วยว่าในคอนวอยยังประกอบไปด้วยตัวประกันและประชาชนผู้ลี้ภัย ซึ่งสามารถระบุได้จากภาพถ่ายของกองกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ เอง

ผู้สื่อข่าวหลายรายที่ตามติดกองกำลังตะวันตกเองต่างก็ตกใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างมากเมื่อตอนที่พวกเขาได้เข้ามายังพื้นที่ในเขต Highway of Death หนึ่งในนั้นคือ John Pilger นักข่าวและผู้กำกับเจ้าของรางวัล BAFTA ที่เขาได้นิยามเหตุการณ์การโจมตีในครั้งนี้ว่า “การสังหารหมู่”

อย่างไรก็ดีในช่วงเวลานั้นทางทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ก็ได้ตีตราเหล่าผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น “นักทรมาน, พวกโจร หรือไม่ก็พวกวิตถาร” แต่จากหลักฐานจากหลายๆ ที่ก็พบกว่าท่ามกลางเศษซากของรถลำเลียงทางการทหาร ยังมียานพาหนะพลเรือนอีกด้วยเช่นรถตู้ และมอเตอร์ไซค์ อีกมากมาย โดยที่ผู้โดยสารส่วนหนึ่งคือแรงงานจากต่างประเทศที่ติดอยู่ในคูเวตที่มาจากปาเลสไตน์ บังกลาเทศ ซูดาน อียิปต์และประเทศอื่นๆ

นอกจากนี้ทาง Observer สื่อจากทางฝั่งอังกฤษเองก็ยังได้มีการเผยแพร่ภาพที่ชวนน่าตกใจโดยมันเป็นภาพของศพที่ไหม้เป็นตอตะโกที่ติดอยู่กับรถบรรทุก จนริมฝีปากเปิดเผยจนถึงซี่ฟันจนน่าสยดสยอง ในขณะที่หน้าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในเวลานั้นต่างนำเสนอภาพของเหล่าทหารสหรัฐฯ ที่เข้าไปรักษาทหารอีรักที่บาดเจ็บ

ซึ่งทาง Kate Adie นักข่าวจากทาง BBC เองยังได้เคยเผยแพร่ภาพของ Highway of Death ออกอากาศอีกด้วย ที่แสดงให้เราได้เห็นว่าท่ามกลางเหล่ายานพาหนะที่ไหม้ดำนั่นมันมีเครื่องอุปโภคบริโภคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ตุ๊กตา เครื่องเป่าผม โดยเธอได้กล่าวว่าสิ่งเหล่านี้ “คือหลักฐานชิ้นสำคัญของความสับสนอันเลวร้าย” และสิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือความพยายามในการบิดเบือนประวัติศาสตร์ แม้เพียงแค่ชื่อก็ตามในเกม Call of Duty: Modern Warfare ซึ่งแสดงให้เห็นภาพชัดว่าทางสหรัฐอเมริกาเองก็ยังไม่ยี่หระกับโศกนาฏกรรมที่พวกเขาสร้างมาจนถึงทุกวันนี้
The Highway of Death on April 18, 1991, Photo: Tech. Sgt. Joe Coleman/U.S. Air Force


ซึ่งบทความนี้ ก็เอามาจาก polygon.com อีกทีหนึ่ง ตามลิงค์ ด้างล่างครับ
https://www.polygon.com/2019/10/30/20938550/call-of-duty-modern-warfare-highway-of-death-controversy



*ก็คนที่ทำให้ อเมริกาดูแย่ คิดหรือว่า เขาจะปล่อยไว้ ? ให้ดูตัวอย่าง ของ เอ็ดเวิร์ด โจเซฟ สโนว์เดน ( Edward Joseph Snowden) หรือ วิกิลีกส์ (Wikileaks) เป็นตัวอย่าง 




หรือ ช่อง History ของฝรั่ง ก็มีคำแก้ตัวให้เนียนๆว่า ไอ้รถชาวบ้าน 2พันคัน ที่ไฟท่วมอยู่ จริงๆไม่ใช่ชาวบ้าน แต่เป็น ทหารอิรัก และครอบครัว ขโมยรถชาวบ้าน เพื่อขนอาวุธ และหลบหนีต่างหาก ซึ่งก็มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ
https://www.youtube.com/watch?v=hhmXleZXAr0
แล้วสำนักข่าว ไม่ว่า จะ รอยเตอร์ส หรือ บีบีซี หรือสื่อฝรั่ง เขาก็ นะ คิดเอาเองละครับ ว่า เราควรเชื่อเขาหมดใจเลยหรือไม่ หรือควร หาข่าวฝั่งตรงข้ามมาด้วย
อย่างล่าสุดที่ไทยโดน คือ ถูกกล่าวหาว่า ไล่เอาปืนจี้ผู้อพยชาวพม่า ให้ไทยดูชั่วร้าย แต่ ถ้า มาลองดูข่าวให้ครบ จะรู้ว่า  เรื่องนั้นจริงไม่จริง หรือว่า โดนปั่น
เหมือนเรื่อง การแบนกระทิไทย ว่าคนไทยชั่วร้ายทรมาณลิง ฯลฯ  ก็เลยหาเรื่องแบนกระทิไทย  เป็นต้น ซึ่ง ก็จะมีคนไทย ที่เชื่อและไม่เชื่อ สื่อฝรั่ง เป็นต้นครับ